วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

คลิปการทดลอง การหักเหของเเสง



 คลิปการทดลอง เรื่องการหักเหของแสง




การหักเหของแสง คือ การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทำให้แนวลำแสงเกิดการเบี่ยงเบนจากแนวเดิม


การทดลอง รูปวาดที่หายไป


อุปกรณ์
1. กระดาษ
2. ซองพลาสติก
3. แก้วน้ำ 
4. ปากกาสี

วิธีการทดลอง
1.วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ 
2.นำภาพที่วาดเสร็จแล้วใส่ซองพลาสติก
3.นำซองพลาสติกจุ่มลงในน้ำที่เตรียมไว้
4.สังเกตการหักเหของแสง

ผลการทดลอง
การที่เราเห็นวัตถุเกิดจากแสงจากวัตถุที่เข้าตาเราจากแสงวัตถุในน้ำที่เข้าตาเราจะมีการเบนเมื่อแสงจากน้ำสู่อากาศ

สมาชิก

นางสาวอารียา นิลกาเด็ด เลขที่1

นางสาววรรณกานต์ บุญเหมาะ เลขที่6

นางสาวพัชริดา โป๊ะประนม เลขที่7

นางสาวประภาพรรณ ศรีนาค เลขที่24

นางสาวศศิภา เทพันดุง เลขที่ 25





บันทึกการเรียนครั้งที่11




 บันทึกการเรียนครั้งที่11

วันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 

เวลาเรียน 08:30-12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นเพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุด

การทดลองวิทยาศาสตร์ครูต้องเริ่มจากการตอบคำถามของเด็กๆ จดบันทึกจากคำพูดของเด็ก

1.ครูพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวันของเด็กๆ

2.อุปกรณ์การทดลอง

3.การนำเข้ากิจกรรม

4.เริ่มกิจกรรม

5.ขั้นสรุป

6.การบูรณาการ


กิจกรรม

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนทำมายแมพหน่วยการเรียนรู้และออกแบบการทดลองที่เกี่ยวข้องกับหน่วย



"การทดลองไข่ลอยไข่จม"

 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Water resources  แหล่งน้ำ
2. Sea  ทะเล
3. Dam   เขื่อน
4. Accident  อุบัติเหตุ
5. Travel  การท่องเที่ยว

ประเมิน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจอธิบายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำมายแมพและการออกแบบการทดลอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายและแก้ไขงานตามที่อาจารย์แนะนำ




วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่10

 




บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2563 

เวลาเรียน 08:30-12:30 น.


สื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก

พวกเรามีเทคนิคการพัฒนาทักษะทางสติปัญญาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากการประดิษฐ์ผ่านแนวคิดสะเต็มด้วย นิทานการประดิษฐ์เรื่อง "เด็กชายถั่วงอก" ซึ่งในนิทานเราสามารถนำแนวคิดจากกิจกรรมสเต็มมาทำที่บ้านได้ โดยกิจกรรมน้ีจะเกี่ยวกับการประดิษฐ์ ผู้ปกครองสามมารถทำตามได้ง่ายๆ โดยทำ กิจกรรมประดิษฐ์ขวดปลูกถั่วงอก และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก็สามารถหาได้ง่ายๆ แค่มีขวดพลาสติก คัตเตอร์ ธูป ไฟแช็ค กาว กระดาษสี ผู้ปกครองสามารถออกแบบขวดปลูกถั่วงอกตามสไตล์ได้เลยนะคะ กิจกรรมนี้จะช่วยให้ลูกๆของท่านได้มีทักษะในการคิด การแก้ไขปัญหา และยังนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วยนะคะ







คุยกับลูก 
 ถ้าหนูเป็นเด็กชายถั่วงอกหนูจะกินอาหารที่มีประโยชน์หรือหนูจะไม่กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์จน ตัวเองป่วย หรือไม่ เพราะอะไร 

บทสรุป 
 เห็นมั้ยจ๊ะ เราควรกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจะทำให้เราแข็งแรงและไม่ป่วยง่ายเหมือนด็กชาย 
ถั่วงอก 

เล่นกับลูก 
ให้เด็กๆทำการทดลองประดิษฐ์กล่องปลูกถั่วงอก 

วัสดุ 
- ขวดพลาสติก 
- คัตเตอร์ 
- ธูป 
- ไฟแช็ค 
- กระดาษสี

มีขั้นตอนให้ผู้ปกครอง ดังนี้ 

- นำธูปมาเจาะรูข้างๆขวด ขนาดรูต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียว 

-ฝั่งตรงข้ามที่เจาะรูให้ใช้คัตเตอร์ตัดออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม สำหรับไว้ใส่เมล็ดถั่วเขียว 

- ให้เด็กตกแต่งโดยใชก้ระดาษสีใหส้วยงาม 


ผลจากการทดลอง 

หลังจากนั้นสามารถนำไปปลูกถั่วงอกได้ 



คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Develop  พัฒนา
2. Communication  การสื่อสาร
3. Parents   ผู้ปกครอง
4. Tale  นิทาน
5. Technique  เทคนิค

ประเมิน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้าที่ห้องสมุด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงเวลาที่อาจารย์กำหนด
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายและส่งตามเวลาที่อาจารย์กำหนด




บันทึกการเรียนครั้งที่9




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2563 

เวลาเรียน08:30-12:30น.

 เนื้อหาที่เรียน

-วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ของเล่นเกี่ยวกับอากาศ โดยอาจารย์ให้กระดาษเเข็งมาดิฉันทำคล้ายๆกังหันลม ที่ใช้มือหมุนเเล้วค่อยๆดิ่งลงช้าๆ




อาจารย์ได้เเจกดินน้ำมันให้ปั้นที่สามารถลอยบนน้ำได้ดิฉันเลยปั่นเป็นรูปทรงคล้ายๆถ้วยเเละจานเพื่อให้อากาศเข้าไปจึงทำให้ดินน้ำมันลอยได้ วิธีนี้จะคล้ายๆการต้มบัวลอย






คำศัพท์ 
1. wind turbines  กังหันลม
2. Plasticine  ดินน้ำมัน
3 . Paper   กระดาษ
4 . Do it  ลงมือทำ
5 .float     ลอย

ประมิน 
ประเมินอาจารย์:มีกิจกรรมที่น่าเรียนรู้อยู่ตลอด
ประเมินเพื่อน:กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
ประเมินตนเอง:มีความสุขที่ได้เล่นเเละลงมือทำ




บันทึกการเรียนครั้งที่8




 บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2563 
เวลาเรียน 08:30-12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

การเปลี่ยนสถานะของน้ำ 
ของแข็ง > ของเหลว > ก๊าซ 

การเกิดฝน 
น้ำเมื่อโดนความร้อนของดวงอาทิตย์ก็จะระเหยกลายเป็นไอเมื่อลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าก็จะก่อตัวเป็นเมฆเกิดการควบแน่นแล้วก็ตกลงมาเป็นฝน 

การระเหย 
น้ำจะระเหยเมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซ 
การระเหยเกิดบนผิวน้ำ , น้ำตื้น เช่น แอ่งน้ำบนถนน 

การขยายตัว
น้ำ > น้ำแข็ง
น้ำมีโมเลกุลเรียงตัวกันพอดี
น้ำแข็งโมเลกุลขยายตัวออก เป็นโมเลกุลหลวมๆ น้ำสามารถขยายตัวได้ถึง 12 % 



ความหนาแน่น
น้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำธรรมดาเพราะน้ำหนักของเกลือ ทำให้วัตถุสามารถลอยได้

แรงตึงผิว 
เมื่อผิวหน้าของน้ำสัมผัสกับอากาศโมเลกุลจะรวมตัวทำให้เกิดความยืดหยุ่นทำให้ของที่มีน้ำหนักเบาสามารถลอยน้ำได้


 
 จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน  ทำงานในหัวข้อ "ของเล่นที่เกี่ยวกับน้ำ" โดยกลุ่มของเราเลือกทำของเล่นที่เกี่ยวกับน้ำเป็น "รถพลังน้ำ"
 


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Ingredient  ส่วนประกอบ
2. Toy  ของเล่น
3. Water  น้ำ
4. Mind map  แผนผังความคิด
5. Volatile  การระเหย


ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการอธิบายเนื้อหาและทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอย่างเข้าใจ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมอย่างเต็มทีี่




บันทึกการเรียนครั้งที่7

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 

วันพุธที่ 7 ตุลาคมพ.ศ 2553 

เวลาเรียน13:30 -17:30 น.

เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 วาดแหล่งน้ำสำคัญที่เพื่อสามารถคาดเดาได้ว่าเป็นสถานที่ใด





 เมื่อวาดเสร็จให้เพื่อนๆในห้องลองสังเกตเเล้วตอบว่าสถานที่เเหล่งน้ำที่วาดคือที่ไหน ของกลุ่มดิฉันคือเเหล่งน้ำที่ไหน กลุ่มของดิฉันวาด เกาะพีพี 



อาจารย์ให้ออกแบบสไลเดอร์ที่สามารถกลิ้งลูกบอลลงมาได้ช้าที่สุด โดยมีวัสดุอุปกรณ์เเจกเเต่ละกลุ่มจำนวนเท่าๆกัน ดังนี้

- หลอด 30 อัน 
-เทปใส 1 ม้วน

เมื่อสร้างผลงานเสร็จ ก็เอาผลงานเเต่ละกลุ่มมาจับเวลาว่าลูกกลิ้งกลิ้งลงมาเป็นเวลาเท่าไหร่ โดยมีเกณฑ์ เร็วและช้า



ให้ตัดกระดาษออกมาเป็นรูปดอกไม้ คนละดอก เเล้วพับกลีบดอกไม้ให้หุบ จากนั้นนำดอกไม้ไปลอยในน้ำ เเล้วจะสังเกตเห็นได้ว่าดอกไม้ค่อยๆบานออก 


ความรู้ที่ได้รับจากการทำผลงาน 3 ชิ้น

-เเหล่งน้ำที่สำคัญในเเต่ละเเห่งมีชื่อเรียกที่เเตกต่างกัน มีจุดเด่นที่ทำให้คนนึกถึงได้

-มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่นสวนน้ำสไลเดอร์เป็นเเหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเเหล่งน้ำ

1.มีการออกเเบบ มีเป้าหมาย > เขียนเเบบวิศวะ

2.หาอุปกรณ์ ระบุจำนวนวัสดุที่ใช้

-สไลเดอร์ วิทยาศาสตร์ คือระดับความลาดเอียง SPDN เป็นเรื่องของพื้นที่กับเวลาเเละความสัมพันธ์กัน
-ดอกไม้
สังเกตการเปลี่ยนแปลง น้ำสามารถเเทรกซึบเข้าไปในกระดาษพื้นที่ ที่มีช่องทำให้กระดาษสามารถบานออกมา

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1.Design : ออกแบบ

2.Water resources : เเหล่งน้ำ

3.The Planc : สถานที่

4.Slow : ช้า

5.Goal : เป้าหมาย

ประเมิน

ประเมินอาจารย์:อาจารย์อธิบายข้อมูลได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น

ประเมินเพื่อน:เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมแสดงความคิดเห็นมีการวางแผนในการทำงานเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง:ช่วยเพื่อนทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย




บันทึกการเรียนครั้งที่6



 บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 25 กันยายนพ.ศ 2563

เวลาเรียน 08.30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ให้จับคู่ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุที่สามารถหาได้จากในห้องเรียน


เป่ากบแลบลิ้น

วัสดุอุปกรณ์

1.กระดาษแข็ง

2.กระดาษสี 

3.ไม้ไอติม 

4.หลอด 

5.เม็ดโฟม

วิธีทำ

1.วาดภาพกบและตัดกระดาษตามภาพที่วาดไว้

2.นำภาพที่วาดในกระดาษสีมาติดบนกระดาษแข็งแล้วตัดตามภาพ

3.ติดไม้ไอติมด้านหลัง

4.ตัดกระดาษสีแดงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตรนำมาติดกับหลอดแล้วม้วนปลายกระดาษเพื่อใช้เป็นลิ้น

5.ติดล้อที่เป็นลิ้น

6.ตกแต่งให้สวยงาม




วิทยาศาสตร์: เมื่อเราเป่าลมก็จะเกิด แรงดันอากาศ ทำให้ลิ้นกบที่ม้วนอยู่ที่ออกมา

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1.Wind   ลม 

2.  Pressure   แรงดัน

3. Artificial   ประดิษฐ์ 

4. Equipment material  วัสดุอุปกรณ์

5. Design   ออกแบบ


ประเมิน

ประเมินอาจารย์:อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอชิ้นงานของนักศึกษา

ประเมินเพื่อน:เพื่อนๆตั้งใจประดิษฐ์ชิ้นงานของตนเองและตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม

ประเมินตนเอง:ช่วยเพื่อนประดิษฐ์ชิ้นงานจนเสร็จและตั้งใจฟังอธิบายเพิ่มเติม




บันทึกการเรียนครั้งที่5




บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 18 กันยายนพ.ศ 2553

เวลาเรียน 08:30 -12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

เด็กปฐมวัย 

-วัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น

-วัยที่มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดของชีวิต

-แสวงหาความรู้ความสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1.ทักษะการสังเกต

-การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป

-การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ

-การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

2.ทักษะการจำแนกประเภท

-ความเหมือน

-ความแตกต่าง

-ความสัมพันธ์ร่วม

3.ทักษะการสื่อสารความหมาย

-บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ

-บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้

-บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ

-จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

4.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

-ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ

-ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

-การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

5.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา

-ชี้บ่งภาพ 2 มิติและ 3 มิติ

-บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ

-บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา


สมองกับวิทยาศาสตร์

1.ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
2.หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้้นเพื่อสืบค้นความจริง
3.ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ
4.จำแนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น

องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์

1.สิ่งที่กำหนดให้

2.หลักการหรือกฏเกณฑ์

3.การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. Rules  กฎเกณฑ์

2. Differences   ความแตกต่าง

3. Interrelationships   ความสัมพันธ์

4. Inferring   การลงความเห็น

5. The truth  ความจริง


ประเมิน

ประเมินอาจารย์:อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พร้อมยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

ประเมินเพื่อน:เพื่อนๆตั้้งใจฟังพี่อธิบาย ช่วยกันตอบคำถาม และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินตนเอง:ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย ตอบคำถามช่วยเพื่อนทำงานที่ได้รับมอบหมาย




บันทึกการเรียนครั้งที่4




 บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคมพ.ศ 2563

เวลาเรียน 08:30 น -12:30 น.

เนื้อหา

-เป็นการนำเสอนการทดลองให้กับเพื่อนๆดูทีละคน การทดลองมีหลากหลายวิธี แต่การทดลองก็จะมีวิธีการ ขั้นตอนในการทำ

             1.ต้องแนะนำอุปกรณ์สำหรับการทดลองให้กับเด็กๆ เพื่อที่เด็กจะได้รู้จัก

             2.การแนะนำอุปกรณ์ต้องแนะนำที่ละอย่าง ละวางจากซ้ายไปขวาของเด็ก เนื่องจากเป็นการลงที่ถูกต้องเพราะว่า เราอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา

            3.เริ่มสาธิตการทดลองให้เด็กดู อาจจะให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำด้วย

            4.ต้องมีตั้งสมมุติฐานให้กับเด็ก เพื่อที่จะให้เด็กได้รู้จักการสังเกตการเปลี่ยนแปลงไหม

            5.พอทำการทดลองเสร็จจะต้องถามว่า ตรงกับที่เด็กคิดไหมและถ้าตรงหรือไม่ตรง ก็ให้เด็กๆลองคิดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เด็กๆก็จะมีส่วนร่วมในการตอบและคิด

            6.สรุปให้กับเด้กว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และตรงกับสมมุติฐานไหม


การที่เราจะจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กจะต้องจัดสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้เก็บเด้กด้วย

 -ถ้าเด็กๆนั่งครึ่งวงกลม ครูไม่ควรที่จะอยู่กลางวง ครูควรอยู่บนเด้กเพื่อที่เด้กคนแรกจะได้มองเห็น


ประเมิน

ประเมินอาจารย์:อาจารย์อธิบายข้อมูลได้อย่างชัดเจน

ประเมินเพื่อน:ตั้งใจทำการทดลองและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินตนเอง:ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์บอกเพิ่มเติมในการทดลองของตนเอง




บันทึกการเรียนครั้งที่3

 




บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคมพ.ศ 2563

เวลาเรียน 08:30 -12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจรอบตัวและตัวตนของตนเอง

-ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติรอบตัวของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ

-การทำความเข้าใจสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเองโดยสังเกตและข้อซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กเพราะส่งเสริมให้เด็กคิดและเป็นการเตรียมการเรียนรู้ได้มากขึ้น

การจัดประสบการณ์ คือ การจัดกิจกรรมและการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนโดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีและเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา

เป้าหมายการจัดประสบการณ์

1.เนื้อหา 

2.สาระการเรียนรู้

3.ความรู้

การจัดประสบการณ์ต้องรู้อะไรของเด็ก

1.พัฒนาการ ความสามารถของเด็กที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนระดับอายุ ที่เกิดจากการทำงานของสมอง เช่นการอยากรู้ การเลียนแบบ เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการ

2.ความต้องการ คือ ปลายที่สะท้อนความต้องการออกมา


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1.Event : เหตุการณ์

2.Fragrant : หอม

3.Creature : สิ่งมีชีวิต

4.Classify : แยกประเภท

5.Process :กระบวนการ

ประเมิน

ประเมินอาจารย์:อธิบายได้ชัดเจนเข้าใจง่ายพร้อมยกตัวอย่างต่างๆ

ประเมินเพื่อน:เพื่อนๆตั้งใจเรียนและเป็นผู้ฟังที่ดีช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินตนเอง:ตั้งใจฟังอาจารย์ในขณะที่อาจารย์สอน




บันทึกการเรียนครั้งที่2



บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคมพ.ศ 2556 

เวลาเรียน 8.30 -12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

วันนี้อาจารย์ให้ทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยแจกกระดาษให้กลุ่มละ 1 แผ่น แล้วทำงานในหัวข้อ

-คำว่า เด็ก เราจะนึกถึงอะไร เพราะเหตุใด

-คำว่า วิทยาศาสตร์ เราจะนึกถึงอะไร เพราะเหตุใด

-คำว่า การจัดประสบการณ์ เราจะนึกถึงอะไร เพราะเหตุใด

เด็ก

-การอบรมเลี้ยงดูเพราะการอบรมเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน

-ช่วงอายุเพราะในแต่ละช่วงอายุจะมีพัฒนาการเป็นลำดับขั้น

-สภาพแวดล้อมเพราะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กแสดงออกในลักษณะต่างๆเช่นชุมชนครอบครัว

วิทยาศาสตร์

-การทดลอง เพราะเป็นวิธีดำเนินการอย่างมีระเบียบตามขั้นตอนเพื่อพิสูจน์ยืนยัน

-การสังเกต เพราะเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

-การจำแนก/เปรียบเทียบ เพราะเป็นพื้นฐานในการจัดระเบียบข้อมูล

การจัดประสบการณ์

-สื่อ เพราะเป็นตัวกลางในการเรียนรู้

-การสาธิต เพราะเด็กได้เรียนรู้และได้ลงมือปฏิบัติเช่นสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์

-ทักษะ เพราะเป็นสิ่งที่เด็กได้รับจากการสังเกตและการทดลองซ้ำๆจนชิน

เด็กปฐมวัย vs การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์เป็นยาคุมสำหรับเด็กๆใช่หรือไม่?

-วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมากเพราะหมายถงชีวิตเด็กวัยนี้กำลังอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวสมองกำลังพัฒนาและกำลังสร้างลักษณะนิสัยเป็นวัยที่มีจินตนาการสูงเป็นวัยวิกฤตในการสร้างความเป็นนักวิทยาศาสตร์

ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?

-ทุกสิ่งรอบตัวล้วนเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้นหน้าที่สุดคือตัวเราและสิ่งรอบตัวทั้งคนสัตว์พืชและสิ่งของที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อการดำเนินชีวิตของเด็ก

ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร

-ผู้ใหญ่ควรจะเข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ของเด็กๆเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยให้ความสนใจกับคำถามและการค้นพบของเด็กๆหรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม

กิจกรรม



คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1.Observing   การสังเกต

2. Comparison   การเปรียบเทียบ

3. Environment   สภาพแวดล้อม

4. The demonstration   การสาธิต

5. Brain  สมอง


ประเมิน

ประเมินอาจารย์:อธิบายเกี่ยวกับเด็ก วิทยาศาสตร์การจัดประสบการณ์ อย่างละเอียด

ประเมินเพื่อน:เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอนช่วยกันทำงาน ช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินตนเอง:ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและช่วยเพื่อนๆทำงาน






บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกการเรียนครั้งที่1

วันศุกร์ ที่7 สิงหาคม พ.ศ.2563

เวลาเรียน 08:30-12:30น. 



                                       

เนื้อหาที่เรียน

วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรกของวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้อธิบายองค์ประกอบของบล็อก ชี้แจงรายวิชาและมอบหมายงาน

1.งานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2.บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

3.ตัวอย่างการสอน

กิจกรรม


อาจารย์ให้ทำ mind map เกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


คําศัพท์ภาษาอังกฤษ

1.Research งานวิจัย

2.Science วิทยาศาสตร์

3.Learning     การเรียนรู้

4. Teaching materials   สื่อการสอน

5. The experiment   การทดลอง


ประเมิน

ประเมินอาจารย์: อาจารย์ได้อธิบายเทคนิคการทำบล็อกและมอบหมายงานอย่างละเอียด

ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและให้ความวมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินตนเอง: ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม







คลิปการทดลอง การหักเหของเเสง

 คลิปการทดลอง เรื่องการหักเหของแสง การหักเหของแสง คือ การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทำให้แนวลำแสงเกิดการเบี่ยงเบนจา...